ภาษี e-commerce

ภาษีสำหรับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)

ปัจจุบันกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว หลากหลายช่องทาง เช่นเปิดร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ e-commerce ผ่าน Social Network อย่าง Facebook และ Instagram เป็นจำนวนมาก แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่เข้าใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาษีอากรและการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยบทความนี้จะกล่าวถึงกิจการใดบ้างที่ต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กิจการที่ต้องแสดงแบบรายการภาษีต่อกรมสรรพากร ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง และการคำนวณภาษีรายได้นิติบุคคล โดยมีรายละเอียดดังนี้

shopping

ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ

ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและ บริการโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับ ผู้ประกอบการค้าขายมีหน้าร้านทั่วไป ที่ต้องนำรายได้นั้น มารวม คำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และมีหน้าที่จดทะเบียน เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามเงื่อนไขของกฎหมาย

กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ คือ         

กิจการค้าที่เป็นพาณิชย์กิจที่ต้องจดทะเบียนตาม ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชย์กิจ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่ถือว่าเป็นการจดทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

1. การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2. การบริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP)

3. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)

4. การบริการตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (E-Marketplace)

 

กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่อกรมสรรพากร  

123456 Untitled-78

9

10

ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่นำรายได้ที่เกิดจาก การประกอบกิจการมารวมกับรายได้อื่นที่มีอยู่ นำไปคำนวณเพื่อยื่น แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1,800,000 บาท ต่อปีหรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกิน 1,800,000 บาทต่อปี

 

การคำนวณภาษีรายได้นิติบุคคล

ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบการในรูปแบบของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียน ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชีจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตาม มาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วย โดยในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ จะสามารถคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ดังนี้

การคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

อัตราภาษีปี58
อัตราภาษี

*** หมายเหตุ :  รอประกาศตามนโยบาย ครม. เรื่องลดภาษีเงินได้สำหรับผู้ประกอบการ SME ปี 2558 อย่างเป็นทางการอีกครั้ง

 

สรุป ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเหมือนกับผู้ประกอบการอื่นๆเช่นเดียวกัน อาจจะแตกต่างจากผู้ประกอบการทั่วไปตรงที่ต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบการ

 

ที่มา : กรมสรรพากร www.rd.go.th

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th