มาตรการภาษีสงกรานต์

เที่ยวส่งกรานต์ก็นำไปหักลดหย่อนภาษีได้

เที่ยวสงกรานต์

 รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสงกรานต์ ที่เรียกว่า “มาตรการภาษีสงกรานต์”

ให้สิทธิผู้มีเงินได้และต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในระบบของกรมสรรพากร สามารถนำค่า ใช้ เช่น ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าแพ็คเกจทัวร์ท่องเที่ยว ค่าที่พักโรงแรม  ที่จ่ายในช่วงวันที่ 9 – 17 เมษายน 2559 ไปหักลดหย่อนในการคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ โดยต้องมีหลักฐานใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ได้รับจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น โดยสามารถนำไป หักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 15,000 บาท

ค่าใช้จ่ายที่นำมาหักลดหย่อนประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

  1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่ไม่รวมถึงการซื้อสุรา เบียร์ และไวน์ที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารภัตตาคาร หรือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม
  2. ค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
  3. ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม

*** เงื่อนไขที่สำคัญคือ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ในร้านอาหาร ซึ่งต้องเป็นร้านที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และต้องเป็นการกินและเที่ยวในประเทศไทยเท่านั้น โดยต้องเป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะช่วง 9- 17 เม.ย.59

ใบกำกับเต็มรูป

ขอบคุณภาพประกอบจาก  Business Soft

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงให้ทราบโดยทั่วกันอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

640_k55fag8ffbhfbfec6a7jf
1. ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไว้ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเฉพาะกรณีลูกค้าเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ถ้าลูกค้าไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการก็ไม่จำต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของลูกค้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกำกับภาษีแต่อย่างใด

2. ถ้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมิได้แจ้งรายการเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและได้รับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งไม่มีรายการดังกล่าวนั้นภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีก็จะเป็นภาษีซื้อต้องห้ามไม่สามารถนาไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ และถ้าการที่ไม่ได้แจ้งรายการดังกล่าวนั้นมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรก็จะต้องรับผิดตามกฎหมายต่อไป

3. ลูกค้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตนเองให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการทราบก็ได้

ที่มา: มติชนออนไลน์